เมนู

คือ 1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โทมนัสย่อมเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร.
2. เมื่อฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เสื่อมไปแล้ว โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร.
3. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[1152] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว กระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อม
พิจารณา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
2. ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออก
จากผลแล้ว กระทำฌานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อม
พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
3. ย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่สัม-
ปยุตด้วยสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ครั้นกระทำขันธ์นั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตขันธ์ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1153] 2. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่
1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว กระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อม
พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
2. ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ออกจากมรรค, ออก
จากผลแล้ว กระทำฌานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อม
พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
3. ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งเพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ
[1154] 3. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีที่สัมปยุตด้วยทุกข-
เวทนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตขันธ์ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1155] 4. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาแล้ว การทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ย่อมพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
2. ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากมรรค
ออกจากผล แล้วการทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อม
พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
3. ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ราคะ ทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่อธิบดีที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1156] 5. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่
1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ย่อมพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
2. ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา, ออกจากมรรค,
ออกจากผลแล้ว กระทำฌานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อม
พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.

3. ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ.

4. อนันตรปัจจัย



[1157] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ 1. ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
2. อนุโลมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน.
4. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
5. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค.
6. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล.
7. ผล เป็นปัจจัยแก่ผล.
8. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
9. ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.